AIS E-waste

Amount of Collected E-Waste

0

Pieces

Amount of Collected E-Waste

0

Pieces

Amount of Collected E-Waste

0

Pieces

รู้ไหม E-Waste ทำร้ายลูก?


‘อันตราย’ บางอย่างอาจอยู่ ‘ใกล้ตัว’ เรามากกว่าที่คิด อาจประชิด ตัวเราอยู่แทบทุกวินาที คงไม่ดีแน่
ถ้าอันตรายเหล่านี้อยู่ใกล้ลูก ๆ ของคุณ ที่แม้แต่พ่อแม่อย่างคุณก็อาจไม่เคยคาดคิดมาก่อน!

อันตรายที่ว่านี้ก็คือ อันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือเครื่องเก่าที่เคยตกแตก หรือพาวเวอร์แบงก์ที่ชาร์จไฟไม่เข้าแล้วก็ตามที

ขยะเหล่านี้อาจซุกซ่อนอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของบ้าน คอยปล่อยสารพิษให้คนในครอบครัวมานานนับปี คงถึงเวลาสักทีที่คุณจะได้ทำความรู้จักเจ้าภัยร้ายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้มากขึ้น ไม่แน่ว่า… หรือคุณเองที่กำลังปล่อยให้ E-Waste ทำร้ายลูกของคุณอยู่กันแน่!?!

จากสถิติพบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 25 พฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มครัวเรือน มักจัดการกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วยการเลือกที่จะเก็บเอาไว้ รองจากการขายต่อให้กับซาเล้งหรือรถขายของเก่าที่ร้อยละ 51 ส่วนที่เหลือคือเลือกที่จะทิ้งปะปนไปกับขยะทั่วไป ไม่ก็แจกจ่ายให้กับผู้อื่น*

หนึ่งในนั้นก็คือ ‘โทรศัพท์มือถือ’ ที่มีอัตราการใช้งานเพิ่มสูงขึ้นทุกปี** แค่เฉพาะยอดขายมือถือในประเทศไทยเมื่อปีก่อน ก็สูงถึง 18.2 ล้านเครื่องแล้ว*** จึงไม่น่าแปลกใจที่ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์จะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย

ยิ่งเราบริโภคอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้มากเกินความจำเป็น ก็ย่อมนำมาซึ่งขยะอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นเท่านั้น ขยะเหล่านี้นี่แหละ ที่ซุกซ่อนอยู่ในบ้าน คอยแอบปล่อยสารพิษให้กับลูกน้อยและทุกคนในครอบครัวของคุณอยู่เงียบ ๆ กลายเป็นภัยร้ายที่มองไม่เห็น

แค่โทรศัพท์มือถือหนึ่งเครื่อง ก็ประกอบขึ้นจากหลายส่วนด้วยกัน ซึ่งไม่ได้ทำขึ้นจากโลหะมีค่าอย่างทองแดง หรือ ทองคำ เท่านั้น แต่ยังประกอบด้วยสารอันตรายหรือโลหะหนักหลายชนิดที่ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพได้ หากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป****

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เสื่อมสภาพ เช่น อยู่ในสภาพที่แตกหัก หรือผุพัง
จนทำให้สารเคมีที่อยู่ภายในรั่วไหลออกสู่ภายนอก ทำให้เราได้รับสารอันตรายเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะผ่านการ
สูดดม การสัมผัส หรือการเผลอรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีการปนเปื้อน*****

แค่ผู้ใหญ่ได้รับสารอันตรายเหล่านี้เข้าไปก็นับว่าอันตรายมากแล้ว ยิ่งถ้าลูก ๆ ของเราต้องมารับสารพิษอย่าง ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม หรือโลหะหนักอื่น ๆ ตั้งแต่ยังแบเบาะ คงไม่ใช่เรื่องดีแน่ เพราะเสี่ยงต่อพัฒนาการทางสมองที่ช้าลง อาจทำให้พิการ หรือเสียชีวิต แม้แต่คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ก็ยังมีความเสี่ยงที่ลูก
ในครรภ์จะได้รับสารพิษเหล่านี้ไปด้วย*

โดย ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ นายกสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย อดีตอธิบดีกรมอนามัย ยังเคยกล่าวถึงอันตรายจากสารตะกั่วเอาไว้ว่า สามารถทำลายทั้งระบบประสาท ระบบเลือด และพัฒนาการทางสมองของเด็ก รวมถึงภาวะไตวายหรือปอดอักเสบรุนแรง ที่มาจากการได้รับสารแคดเมียม เป็นต้น******

ดังนั้นการเก็บขยะอิเล็กทรอนิกส์เอาไว้จึงไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพของคุณและคนในครอบครัวอย่างแน่นอน ควรทำการแยกขยะก่อนนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี

หรือหากคุณมี E-Waste 5 ประเภทเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ต แบตเตอรี่มือถือ พาวเวอร์แบงก์ สายชาร์จ และ หูฟัง ก็สามารถนำมาทิ้ง ณ จุดทิ้ง E-Waste ของ AIS ได้ กว่า 1,800 จุดทั่วประเทศ เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนของเรา

สามารถเช็คจุดทิ้ง E-Waste กับ AIS ได้ที่ https://ewastethailand.com

#คนไทยไร้EWaste #ThaissaynotoEWaste

*อ้างอิงจาก สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
**อ้างอิงจาก Thai PBS News
***อ้างอิงจาก IDC
****อ้างอิงจาก กรมควบคุมมลพิษ
*****อ้างอิงจาก pobpad.com
******อ้างอิงจาก กรมอนามัย

Recent Post

Close Menu