AIS E-waste

Amount of Collected E-Waste

0

Pieces

Amount of Collected E-Waste

0

Pieces

Amount of Collected E-Waste

0

Pieces

อย่าให้ภูเขา E-Waste ต้องสูงไปกว่านี้ 5 มิถุนายน วันสิ่งแวดล้อมโลก

อย่าให้ภูเขา E-Waste ต้องสูงไปกว่านี้
5 มิถุนายน วันสิ่งแวดล้อมโลก

กองภูเขาขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) ที่เพื่อน ๆ เห็นอยู่นี้ กำลังขยายตัวใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ไม่อยากคิดเลยว่าสารพิษจากขยะที่เสื่อมสภาพได้ปนเปื้อนออกสู่สิ่งแวดล้อมมามากมายเท่าไหร่
ซึ่งนั่นหมายถึงสิ่งมีชีวิตทั้งหลายรวมถึงเราทุกคน ล้วนต้องเสี่ยงกับการสัมผัสสารพิษเหล่านี้มากขึ้นด้วยเช่นกัน

และคงปฏิเสธไม่ได้ว่าสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์มีปริมาณสูงขึ้นเรื่อย ๆ ก็มาจากพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของเรานั่นเอง เช่น การตามเทคโนโลยีมากจนเกินไป เครื่องเก่ายังไม่ทันพัง ก็ซื้อเครื่องใหม่มาใช้แล้ว หรือการไม่พยายามซ่อมแซมเพื่อให้ใช้งานต่อไปได้อย่างคุ้มค่า ก็ทำให้เครื่องเก่ากลายเป็นขยะภายในระยะเวลาอันสั้น

รวมไปถึงพฤติกรรมการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะการทิ้งปะปนไปกับขยะทั่วไป ขยะอิเล็กทรอนิกส์จึงไม่ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธี แทนที่จะได้ถูกนำไปรีไซเคิล (Recycle) จึงกลับต้องกลายเป็นซากขยะที่รอวันฝังกลบไม่รู้จบ

เห็นได้ชัดจากรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมของกรมควบคุมมลพิษ ที่คาดการณ์ในปี 2563 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีปริมาณของเสียอันตรายจากชุมชนกว่า 656,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 1.6 โดยเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์สูงถึงกว่า 428,000 ตัน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 65 จากของเสียอันตรายทั้งหมด

นอกจากนี้ยังมีรายงานฉบับล่าสุดจาก UN’s Global E-Waste Monitor 2020 ที่เผยว่าในปี 2019 เอเชียเป็นทวีปที่ผลิตขยะอิเล็กทรอนิกส์สูงที่สุดในโลกถึง 24.9 ล้านตัน ตามมาด้วยทวีปอเมริกา 13.1 ล้านตัน ทวีปยุโรป 12 ล้านตัน ทวีปแอฟริกา 2.9 ล้านตัน และทวีปโอเชียเนีย 0.7 ล้านตัน ตามลำดับ

แล้วเราจะปล่อยให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างนี้หรือ?

เนื่องใน ‘วันสิ่งแวดล้อมโลก’ เราเลยอยากชวนเพื่อน ๆ ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อโลกของเรา ตั้งแต่การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีอย่างคุ้มค่า ซ่อมแซมเมื่อเกิดการชำรุดหรือเสียหายแทนการซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชิ้นใหม่ ไปจนถึงการคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ทิ้งปะปนไปกับขยะทั่วไป เพื่อให้ขยะเหล่านี้ได้ถูกนำไปรีไซเคิลเพื่อใช้ประโยชน์ได้ต่อไป

โดยเริ่มจากการรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ภายในบ้าน ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ต, แบตเตอรี่มือถือ, พาวเวอร์แบงก์, สายชาร์จ และ หูฟัง แล้วนำมาทิ้งที่จุดรับทิ้ง E-Waste ของ AIS (เช็กจุดรับทิ้ง E-Waste กับ AIS ได้ที่ https://ewastethailand.com/drop-point/) หรือรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ‘ฝากทิ้ง’ กับพี่ไปรษณีย์’ง่าย ๆ ที่หน้าบ้าน (แค่ 2 ขั้นตอน! https://ewastethailand.com/2step-takeaway/)

ก่อนทิ้ง อย่าลืม!!

ทั้งนี้ก่อนทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต ให้ทำการลบข้อมูล และถอดเมมโมรีการ์ดออกก่อนทุกครั้ง รวมถึงขั้นตอนปฏิบัติอื่น ๆ ตามรายละเอียดดังภาพข้างต้น

นอกจากนี้เรายังมีกิจกรรมดี ๆ มาฝาก! เพื่อน ๆ คนไหนที่ตามหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ในบ้านแล้ว ก็อย่าลืมมาร่วมสนุกด้วยการตามหาขยะอิเล็กทรอนิกส์กันต่อในภารกิจ ‘Mission E-Waste(sible)’ทาง Facebook Fanpage: AIS Siustainability

ใครตาดี หาขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ AIS รับทิ้งในภาพเจอทั้งหมดกี่ชิ้น? มีอะไรบ้าง? โพสต์ลงใต้คอมเมนต์ แล้วอย่าลืมกดไลค์เพจ และแชร์โพสต์ พร้อมตั้งค่าเป็นสาธารณะ (Public) และติดแฮชแท็ก #คนไทยไร้EWaste #MissionEWastesible

เราจะทำการจับฉลากผู้โชคดีจำนวน 20 คน ใครที่ตอบถูก รับไปเลยกระเป๋าผ้าแคนวาสรักโลก หิ้วสบาย ใส่ของได้ครบครันสุด ๆ รางวัลละ 350 บาท จำนวน 20 รางวัล รวมมูลค่า 7,000 บาท

ร่วมสนุกได้ตั้งแต่วันนี้ – 15 มิถุนายน 2564 รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกเลย!

#คนไทยไร้EWaste #ThaissaynotoEWaste #WorldEnvironmentDay #วันสิ่งแวดล้อมโลก

อ้างอิงจาก:
1. กรมควบคุมมลพิษ https://www.pcd.go.th/pcd_news/11873/
2. International Telecommunication Union https://www.itu.int/en/ITU-D/Environment/Pages/Spotlight/Global-Ewaste-Monitor-2020.aspx

Recent Post

Close Menu